วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

เมาส์คืออะไร

เมาส์คืออะไร
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับชี้พิกัดบนหน้าจอว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องการเลือกทำงานบนตำแหน่งใดๆ ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ตัวนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ คอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น (สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 2549)
เมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์ (cursor) บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนูและหางหนู และขณะเดียวกันการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์ (cursor) บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549)
เมาส์ (Mouse) หรือ "หนูอิเล็กทรอนิกส์" เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหนู มีสายต่ออยู่ที่ปลายลักษณะเดียวกับหางหนู เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer) ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด (keyboard) (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 2549)

กำเนิดของเมาส์

เมาส์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1963 โดยดักลัส เองเกลบาท (Douglas Engelbart) ที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute) หลังจากการทดสอบการใช้งานอย่างละเอียด (เมาส์ เคยมีอีกชื่อหนึ่งว่า “บัก” (bug) แต่ภายหลังได้รับความนิยมน้อยกว่าคำว่า “เมาส์”) มันเป็นหนึ่งในการทดลองอุปกรณ์ชี้ (Pointing Device) สำหรับ Engelbart's oN-Line System (NLS) ส่วนอุปกรณ์ชี้อื่นออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนไหวในร่างกายส่วนอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ติดกับคางหรือจมูก แต่ท้ายที่สุดแล้วเมาส์ก็ได้รับการคัดเลือกเพราะง่ายต่อการใช้งาน (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549)


ดักลาส เองเกลบาท

เมาส์คอมพิวเตอร์ตัวแรก

เมาส์ตัวแรกนั้นเทอะทะและใช้เฟือง 2 ตัววางในลักษณะตั้งฉากกัน การหมุนของแต่ละเฟืองจะถูกแปลให้เป็นการเคลื่อนที่บนแกนในปริภูมิ 2 มิติ เองเกลบาท ได้รับสิทธิบัตรเลขที่ US3541541 ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 1970 ชื่อ X –Y Position Indicator For A Display System (การระบุตำแหน่ง X –Y สำหรับระบบแสดงผล) (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549)


เมาส์คอมพิวเตอร์ตัวแรก โดย ดักลาส เองเกลบาท
แสดงการทำงานของล้อหมุนของเมาส์

เมาส์แบบต่อมาถูกประดิษฐ์ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 โดย บิล อิงลิช (Bill English) ที่ศูนย์วิจัยของบริษัท ซีรอกส์ (Xerox PARC) โดยแทนที่ล้อหมุนด้วยลูกบอลซึ่งสามารถหมุนไปได้ทุกทิศทาง การเคลื่อนไหวของลูกบอลจะถูกตรวจจับโดยล้อเล็กๆ ภายในอีกทีหนึ่ง เมาส์ชนิดนี้คล้าย ๆ กับแทร็กบอล (Track ball) และนิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ตลอดทศวรรษที่ 1980 และ 1990 ทำให้การใช้เมาส์และคีย์บอร์ดในเวลาเดียวกันสามารถเป็นจริงได้ (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549) ในปี ค.ศ. 1987 มีการปรับปรุงลักษณะภายนอกของเมาส์ ให้มีลักษณะมน มีปุ่ม 2 ปุ่ม ซึ่งกล่าวได้ว่ามีลักษณะคล้ายก้อนสบู่

และในปี ค.ศ. 1989 เมาส์ได้พัฒนามาถึงขั้น Trackball หรือ BallPoint ซึ่งเป็นเมาส์ที่ผู้ใช้เลื่อนลูกบอลด้วยนิ้ว คือ เอาลูกบอลมาไว้ด้านบนเป็น Trackball อันแรกที่ใช้กับ Laptops จากนั้นจึงพัฒนาจนสามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ จนช่วงที่คอมพิวเตอร์ Laptops ได้รับความสนใจจึงสร้าง Touch Pad หรือ Touch mouse ขึ้นในปี ค.ศ. 1995 เป็นเมาส์ที่ไม่มีลูกบอลหรือลูกกลิ้งเป็นส่วนประกอบแต่จะมีตัวเซ็นเซอร์การกดของนิ้ว ซึ่งเมาส์ประเภทนี้ยังคงใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในปัจจุบันด้วย

ต่อมาก็มีการพัฒนาเมาส์ไร้สาย (Cordless mouse) มีหลายประเภท เช่น อินฟราเรด ต่อในปี ค.ศ.1997 เมาส์คลื่นวิทยาจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นและมีรูปร่างหน้าตาที่แปลกออกไป

จนในปี ค.ศ. 1997 การประดิษฐ์เมาส์ได้รับการพัฒนาอย่างมากในด้านของคุณภาพการใช้งานและความสะดวกสบายต่อผู้ใช้มากขึ้น เช่น รูปร่างของเมาส์มีความสะดวกในการสัมผัสมากขึ้นและพัฒนาให้สามารถใช้งานได้กับอินเทอร์เน็ตโดยมีตัวเลื่อน (Scroller) อยู่บนเมาส์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเลื่อนหน้าจอ และในอนาคตเมาส์จะมีการพัฒนาให้มีความสะดวกในการใช้และการติดตั้งระหว่างอุปกรณ์Input กับ Bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์และมีการพัฒนาไปใช้ระบบสัญญาณแบบดิจิทัลในการทำงานมาก เมาส์ในปัจจุบันได้รับรูปแบบมาจาก ?cole polytechnique f?d?rale de Lausanne (EPFL) ภายใต้แรงบันดาลใจของ ศาสตราจารย์ Jean-Daniel Nicoud ร่วมกับวิศวกรและช่างนาฬิกาชื่อ Andr? Guignard ซึ่งการดำเนินงานครั้งนี้ทำให้เกิดบริษัท โลจิเทค (Logitech) ผลิตเมาส์ที่ได้รับความนิยมสูงเป็นยี่ห้อแรก (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549)

ที่มา :http://www.student.chula.ac.th/~48802345/mouse-technology.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น